วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ห้างสรรพสินค้า


            เมื่อ  20  ปีที่แล้ว  มีบทความวิชาการได้กล่าวถึงเหตุผลที่คนเราไม่ควรไปห้างสรรพสินค้า  เพราะมันกัดกินทรัพยากรอย่างไม่รู้จักอิ่ม เช่น  เจ้าของห้าง  ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากเขื่อนทั้งเขื่อน เพื่อส่งไฟฟ้าให้มัน และทำให้ทัศนคติของผู้คนต่อการใช้พื้นที่สาธารณะเปลี่ยนแปลงไปในทางเลวลงเรื่อยๆ  เช่น  ทำให้ผุ้คนไม่นิยมไปหรือใช้พื้นที่สาธารณะ  หรือมีผลกระทบทางอ้อมในด้านต่างๆ  ต่อการอยู่อาศัย การคมนาคม  การค้า  ได้แก่  การสร้างปัญหาการจรารจร ปัญหาต่ออัตลักษณ์ความเป็นชุมชนและความเป็นย่าน ปัญหาต่อเศรษฐกิจท้องถิ่น เป็นต้น
            ทุกวันนี้ความนิยมและความหมายของห้างสรรพสินค้ากลับไม่ได้เป็นตามที่บทความข้างต้นนำเสนอในแง่ลบ กลับเป็นแบบแผนใหม่ต่อวัฒนธรรมการใช้พื้นที่สาธารณะในเมืองของสังคมไทยอย่างมีนัยยะสำคัญยิ่งห้างสรรพสินค้าได้วิวัฒนาการพัฒนาการตัวเองให้เป็นมากกว่าพื้นที่ที่เพื่อจำหน่ายสินค้าเพียงอย่างเดียว  ซึ่งนับว่าเคยเป็นจุดแข็งที่สุดของห้างสรรพสินค้าที่เราสามารถไปสถานที่เดียวได้ครบทุกอย่าง ยังมีความสะดวกสบายน่าเดิน  ไปสู่ความเป็น “เมืองท่า” ของการหมุนกงล้อแห่งทุนและวัฒนธรรมการบริโภค และด้านให้ความหมายใหม่นอกเหนือจากการเป็นสถานที่ซื้อ-ขายสินค้าอยู่แทบทุกประเภท


ห้างสรรพสินค้าได้บรรจุสิ่งที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตซ้ำความหมายและสร้างวัฒนธรรมการบริโภคจากการบริโภคเชิงอรรถประโยชน์สู่   การบริโภคสัญญาร่วมกับสื่อและโฆษณา   โดยเอาความหมายของสัญญาของสินค้าห่อหุ้มด้วยความหมายของสถานที่เพื่อให้สินค้าและสถานที่ร่วมสร้างแรงส่งประทับลงในสำนึกและรสนิยมของคน เราจึงเห็นงานเปิดตัวสินค้า งาน  event  ต่างๆ  มีศูนย์กลางการกระจายวัฒนธรรมการบริโภคบางอย่างจากห้างสรรพสินค้า
ห้างสรรพสินค้ามีพื้นที่ทางกายภาพที่ควบแน่นเข้ากับการสร้างพื้นที่ทางสังคมในลักษณะใหม่   เช่น  พื้นที่เพื่อการผ่อนหย่อนใจ  และเป็นการสร้างพื้นที่ชุมชนของกลุ่มคนที่มีความสนใจเหมือนกัน  ชอบในสิ่งเดียวกัน  เช่น พื้นที่เในการรียนพิเศษ  พื้นที่ของวัยรุ่นและของเยาวชนในด้านต่างๆ เพื่อการแสดงออกถึงอัตลักษณ์ เป็นศูนย์กลางของการแสดงทัศนคติใหม่ๆ   ที่เอื้อต่อการบริโภคและให้เอื้อหนุนต่อการผลิต


ห้างสรรพสินค้าเป็นพื้นที่แห่งอำนาจในการสะสมทุนและเป็นช่องทางการกระจายการผลิตซ้ำหลายๆอย่าง ได้แก่  สัญลักษณ์และรสนิยม  ในวันนี้ห้างสรรพสินค้ามีความหมายไม่ต่างกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์   ที่ผู้ผลิตสินค้าและบริการแทบทุกประเภทต่างต้องการพื้นที่ส่วนหนึ่งในนั้น   เพื่อยกระดับสินค้าของตนเอง (เป็นสินค้าขึ้นห้าง)   เป็นแม่เหล็กที่มีผลต่อการขึ้นราคาอสังหาริมทรัพย์และการเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ  ที่อยู่โดยรอบ  เช่น  คอนโดมีเนียม  อาคารพาณิชย์   และมีอำนาจต่อรองให้เกิดสาธารณูปการอย่างรถไฟฟ้า  รถไฟใต้ดิน  สะพาน-อุโมงค์ข้ามแยก  ฯลฯ
ห้างสรรพสินค้าเป็นตัวแทนของความเป็นย่านในฐานะการสร้างตำแหน่งแห่งที่และการเป็นที่หมายของเมืองในมโนสำนึกของคน   เห็นได้จากคิวรถตู้มักมีต้นสายตามห้างสรรพสินค้า  หรือใช้เป็นหมุดหมายในการเดินทาง

ห้างสรรพสินค้าอาจจะเป็นหนึ่งในเสาหลักของวัฒนธรรมการใช้พื้นที่แห่งยุคสมัยปัจจุบันนี้  และเปลี่ยนแนวคิดของคนในเมืองต่อการใช้พื้นที่สาธารณะอย่างสิ้นเชิง  จากเดิมที่ใช้พื้นที่สาธารณะในความหมายว่า “ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน”  เช่น   สวนสาธารณะ  มาสู่พื้นที่สาธารณะในที่ดินของเอกชน  เช่น  ลานแอโรบิก  ลานน้ำพุในห้าง นัยยะนี้  ห้างสรรพสินค้าสามารถช่วงชิงพื้นที่ส่วนบุคคลต่อการใช้พื้นที่สาธารณะ  จากเมื่อก่อนเราไปสวนสาธารณะโดยสามารถเลือกทำกิจกรรมอะไรก็ได้  ตามที่เราต้องการ   โดยในพื้นที่ห้างนั้น  กิจกรรมของห้างถูกกำหนดออกแบบ  วางโปรแกรมการใช้พื้นที่มาจากข้อมูลการบริโภคของเรานั่นเอง  เป็นอำนาจควบคุมพฤติกรรมและกำหนดแบบแผนการบริโภคของคนโดยที่เราไม่รู้สึกว่าถูกควบคุม   ทั้งหมดก็เพื่อเสถียรภาพแห่งการบริโภคและให้ทุนทำงานได้มั่นคงขึ้น
จะเห็นได้ว่าในทุกที่ที่เรียกว่าเมือง  ซึ่งมีความเจริญแล้ว  ย่อมมีห้างสรรพสินค้า  เพื่อคอยตอบสนองความต้องการของมนุษย์